วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


วันมาฆบูชา

         วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปี วันมาฆบูชาจึงเป็นวันที่สำคัญมากวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา : โอวาทปาฏิโมกข์
ตรงกับวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ในปีอธิกมาส

         เหตุที่พุทธศาสนิกชนถือว่า "วันมาฆบูชา" เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน 4 ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นประดุจการปฐมนิเทศในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่โลกต้องจารึก เพราะเป็นการประชุมของผู้บริสุทธิ์ล้วนๆ และเป็นครั้งแรกที่มีการประขุมเพื่อรับฟังทิศทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

เหตุอัศจรรย์ในวันมาฆบูชา 4 ประการ
  1.  เป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน 3 )
  2. พระภิกษุ 1,250 รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย
  3. ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 ทั้งหมด ไม่มีภิกษุผู้เป็นปุถุชนหรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีแม้สักรูปเดียวมาประชุมในครั้งนี้
  4. พระภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งพระบรมศาสดาทรงประทาน
    การบวชให้

การละเล่นของไทย


กาฟักไข่




วิธีเล่น
          ใช้ผลไม้หรืออะไรก็ได้ สมมุติว่าเป็นไข่ และเขียนวงกลมลงบนพื้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ฟุต 1 วง และอีกวงหนึ่งอยู่ในวงแรก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุต วางทั้งหมดไว้ในวงกลมเล็ก ให้คนใดคนหนึ่งเป็นกา ยืนในวงกลมวงใหญ่ หรือนั่งคร่อมวงกลมเล็ก นอกนั้นทุกคนยืนรอบนอกวงกลมวงใหญ่ คอยแย่งไข่ คนเป็นกามีหน้าที่ป้องกันไข่ โดยมีกติกาการเล่น ดังนี้
  1. ผู้มีหน้าที่หยิบไข่ เข้าไปในวงกลมไม่ได้
  2. ผู้มีหน้าที่หยิบไข่ ต้องระวังมิให้อีกาตีถูกมือ หรือแขนของตน ซึ่งล่วงล้ำเข้าไปในวงกลมได้
  3. ถ้าแย่งไข่ไปจากอีกาได้หมดแล้ว ให้ปิดตากาแล้วเอาไข่ไปซ่อนให้อีกาตามหาไข่ ถ้าพบไข่ที่ผู้เล่นคนใดเป็นคนซ่อน ผู้นั้นต้องเปลี่ยนมาเป็นกาแทน

จำนวนผู้เล่น

            - ไม่จำกัดจำนวน

อุปกรณ์
            - ก้อนหินหรือผลไม้เท่าจำนวนคนเล่น ยกเว้นคนที่เป็นกา 1 คน

ประเพณีข้าวสาก

ประเพณีข้าวสาก

     งานบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก (สลากภัต) คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุสลไปให้กับเปรต ซึ่งงานบุญข้าวสากกับงานบุญข้าวประดับดินในเดือน ๙ จะมีความคล้ายคลึงกัน นั่นคือ เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับเปรตและผู้ล่วงลับไปแล้ว

     มูลเหตุของการเกิดงานบุญข้าวสาก สืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาล มีชายหนุ่มผู้หนึ่งอาศัยอยู่กับมารดา ส่วนบิดาเสียชีวิตแล้ว เมื่อถึงวัยที่ต้องแต่งงาน มารดาจึงหาผู้หญิงมาให้ชายหนุ่มจึงแต่งงานกับหญิงสาวผู้นั้น แต่อยู่กันมานานก้ไม่มีบุตรสักที มารดาจึงหาภารยาให้ใหม่ พออยู่กินมาไม่นานภารยาน้อยก็ตั้งครรภ์ ภารยาหลวงเกิดอิจฉาจึงคิดวางแผนบอกกับภรรนาน้อยว่าถ้าตั้งครรภ์ภรรยาน้อยต้องบอกนางเป็นคนแรก

ประเพณีเข้าพรรษา

ประวัติวันเข้าพรรษา

ประเพณีเข้าพรรษา

          ประวัติวันเข้าพรรษานั้นเริ่มต้นจากเมื่อสมัยพุทธกาลโดยพระพุทธเจ้าเป็นผู้กำหนดขึ้นเนื่องจากมีผู้มาเรียกเรียนว่า พระภิกษุสงฆ์เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยไม่หยุดหย่อนเลยแม้กระทั่งหน้าฝนที่ฝนตกหนัก และน้ำหลาก การเดินทางลำบาก กระทั้งบางครั้งพระสงฆ์เหล่านั้นยังเดินไปเหยียบย่ำพืชผัก หรือผลผลิตที่กำลังเติบโต และกำลังผลิดอกออกผล ได้รับความเสียหาย
             ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้กำหนดให้ฤดูฝนเป็นฤดูสำหรับการหยุดพักการเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาของพระสงฆ์โดยกำหนดให้ตั้งแต่วันแรม 1ค่ำเดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา จนถึงวันขึ้น 15ค่ำเดือน 11และ เป็นวันออกพรรษา เพื่อพระสงฆ์จะได้หยุดพักจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติและศึกษาพระธรรมเพิ่มเติม และสั่งสอนลูกศิษย์หรือพระใหม่ที่เพิ่งบวชได้ร่ำเรียนธรรมะอย่างเต็มที่ โดยให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่ไม่ไปจำวัดที่อื่นตลอดระยะเวลา 3เดือนที่เข้าพรรษานั้นแม้แต่คืนเดียว หากพระสงฆ์ไม่สามารถกลับมาทันก่อนรุ่งสางถือว่าภิกษุนั้นขาดพรรษา